วันพุธที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

Interview รุ่นพี่สถาปนิก idol

         รุ่นพี่ที่ขออนุญาตสัมภาษณ์ในครั้งนี้คือ พี่เอก สถ.37 คะ ซึ่งปัจจุบันนี้พี่เอกกำลังเรียนต่อปริญญาโท สาขาวิชาเทคโนโลยีสถาปัตยกรรม ที่สถาบันพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบังค่ะ


ฉัน  :       สวัสดีค่ะพี่ ขอทราบประวัติส่วนตัวเล็กน้อยนะคะ พี่เอกจบเข้าเรียนที่นี่ตั้งแต่เมื่อไรคะ แล้วปัจจุบันนี้พี่ทำงานอยู่ที่ไหนคะ
พี่เอก
:    พี่เข้าเรียนที่นี่ตอนปี 37 จบปี 41 ซึ่งตอนนั้นเจอวิกฤตการณ์ต้มยำกุ้งพอดี ทำให้ยังไม่ได้ทำงานไปครึ่งปี ตอนเริ่มทำงาน งานแรกเลยคือเป็นบริษัทรับสร้างบ้าน งานที่ทำไม่ใช่งานดีไซน์แต่เป็นพวกออกแบบดีเทล และก็ทำแบบ ทำงานที่นี่อยู่ครึ่งปี จากนั้นก็ไปทำงานพวกรีโนเวทอาคาร ส่วนใหญ่จะเป็นพวกห้างสรรพสินค้า ทำงานนี้อยู่สองปี แล้วก็มีงานบ้านเศรษฐีด้วย พอหลังจากนั้นได้เจอกับรุ่นพี่ที่งานไม้สด เค้าเลยชวนให้ไปทำงานคอนเซ้าท์ ซึ่งส่วนใหญ่งานที่ทำจะเป็นงานเกี่ยวกับอาคารราชการ และห้างสรรพสินค้า ทำอยู่สามปี แล้วก็ไปทำบริษัทดีไซน์อยู่ห้าปี ซึ่งส่วนใหญ่งานที่รับจะเป็นงานพวกดีเทล อาคารและการเขียนแบบขออนุญาต ส่วนตอนนี้ก็ทำงานเป็นคอนเซาท์อยู่
ฉัน
:        พี่เอกทำงานไปด้วยเรียนไปด้วยหรอคะ แล้วอย่างนี้ก็ต้องตกลงกับบริษัทก่อนหรือเปล่าคะ
พี่เอก
:    ใช่ แล้วเราก็คุยกับบริษัทไว้ว่ามาเรียนสองวัน แล้วเราก็ต้องทำงานชดเชยให้
ฉัน
:        ถ้าอย่างงั้นแสดงว่าวันเสาร์อาทิตย์ก็ต้องทำงานด้วยหรอคะ
พี่เอก
:    ใช่ครับ
ฉัน
:        แล้วผลงานที่พี่คิดว่าเป็นงานที่พี่ชอบทำ หรืองานที่พี่คิดว่าเป็นเป็นความภูมิใจในการทำงานหละคะ
พี่เอก
:    ผมไม่ได้ทำงานได้ดีไซน์โดยตรงเลยนะส่วนใหญ่จะเป็นพวกงานออกแบบดีเทลและงานคอนเซาท์มากกว่าก็เลยไม่มีงานที่เป็นผลงานของตัวเอง

ฉัน
:       คะ แล้วสำหรับพี่คิดว่าอะไรคือสิ่งที่เป็นอุปสรรคในการทำงาน ในการประกอบวิชาชีพบ้างคะ
พี่เอก
:    ผมว่าสุขภาพสำคัญที่สุดเลยนะร่างกายเรา พอพักผ่อนไม่เพียงพอมันก็ส่งผลถึงกันหมด ไม่ว่าจะเป็น ตับไต หัวใจ บางคนนี่กินไม่รักษาตัวเองก็มี เป็นกันเยอ ะร่างกายเราไม่ค่อยได้พักแถมยังเจอกับอะไรพวกนี้ มีบางคนก็เป็นโรคหัวใจโตทั้งๆ ที่อายุไม่มาก แล้วก็มีคนหนึ่งที่ออฟฟิสหัวใจวายตาย ตื่นเช้ามายามมาเจอนอนอยู่โต๊ะก็เสียชีวิตแล้ว เป็นหลอดเลือดในสมองตีบพวกนี้ ตอนนี้ร่างกายเราก็เริ่มไม่ไหวกันแล้ว ตอนวัยรุ่นก็ยังพอจะอดนอนกันไหว สุขภาพร่างกายถือเป็นเรื่องที่สำคัญสำหรับคนเรา

ฉัน :        สิ่งที่พี่ยึดเป็นเหมือนเป็นหลักและเป็นข้อคิดในการทำงานคืออะไรคะ
พี่เอก
:    งานที่เราทำเป็นงานเกี่ยวกับการติดต่อประสานงาน บริหารคนจำนวนมากเราต้องรู้จักให้โอกาส ให้อภัยกัน ต้องรู้จักมองคนอื่นในแง่ดี ไม่โทษว่าเป็นความผิดของใคร ซึ่งเราทำงานที่มันเกี่ยวกับคน เวลาที่แก้ปัญหามันก็จะลำบากนิดนึง เราทำงานก่อสร้างนี่ไม่ใช่งานสบายเลยนะ มักจะถูกเอารัดเอาเปรียบเสมอ เพราะที่เราทำงานอยู่มันเจอแต่พวกมลพิษ อย่างเวลาสร้างตึกนี่ ออฟฟิสจะอยู่ชั้นใต้ดินซึ่งมีแต่ฝุ่นกับความชื้นเป็นปัญหาสุขภาพอีก พวกที่เป็นแม่บ้าน หรือยามตึกนี่ยังมีสวัสดิการนะ แต่เรากลับไม่มี

ฉัน
:        พี่มีความคิดเห็นอย่างไรกับเรื่องของจรรยาบรรณวิชาชีพบ้างคะ
พี่เอก
:    ส่วนใหญ่เราไม่ค่อยได้ใช้มาก พวกที่ใช้ส่วนใหญ่คือพวกที่เป็น DISIGNER คือจริงๆ แล้วมันก็มาจากโครงสร้างสังคมของบริษัทเลย ถ้าสร้างความโปร่งใสภายในโครงการ ไม่สร้างความกดดันให้แก่ผู้ร่วมวิชาชีพมันก็อยู่ร่วมกันได้อย่างสบาย มีบางทีเหมือนกันที่สร้างความกดดัน หรือทำให้คนงานไม่พอใจ เขาก็แอบตัดสายไฟบ้าง หยอดปูนใส่ในท่อระบายน้ำ หรือขโมยของกลับไปเอาไปขายก็มี
ฉัน
:        แล้วถ้าตัวอย่างการโกงของโครงการที่เคยเจอมาก่อนละคะ
พี่เอก
:    ส่วนใหญ่ก็จะเป็นการโกงขนาดพื้นที่ของโครงการ ระยะถอยร่น แล้วก็โกงอากาศ พื้นที่สีเขียว การปล่อยก๊าซ Co2 ส่วนใหญ่ก็มักจะเล่นกับกฎหมาย
ฉัน
:        แล้วอย่างนี้ไม่มีการตรวจสอบภายหลังหรอคะ
พี่เอก
:    ส่วนใหญ่แล้วเจ้าของโครงการมักจะแก้ไขปัญหาโดยการโป๊ะเงิน มันอาจจะเป็นเงินมากอยู่แต่มันก็คุ้มกับการแลกมากับรายได้ที่มากกว่า ซึ่งพวกนี้ส่วนใหญ่จะมีนักวางแผน นักการตลาดมาเกี่ยวข้องกับการกำหนดพื้นที่ บางทีเราคิดว่าอย่างนี้จะดีกว่านะ ให้พื้นที่สีเขียว พื้นที่อากาศสิ แต่ตามทางการตลาดแล้วเราก็ต้องการพื้นที่ขายให้มากที่สุด วึ่งมันก็ขึ้นอยู่กับเจ้าของโครงการ
ฉัน
:        แล้วพี่มีความเห็นยังไงกับการออกแบบเพื่อสิ่งแวดล้อมบ้างคะ
พี่เอก
:    ส่วนใหญ่คนเราจะไม่ค่อยคิดถึงปลายทางของห่วงโซ่อาหาร ส่วนใหญ่ผู้ผลิตจะเป็นพ่อค้าของห่วงโซ่อาหาร ผู้ผลิตต้องนึกถึงวิธีการการผลิต วิธีการดำเนินการ และยังต้องควบคุมตลาด ซึ่งผู้ใช้งานอย่างเราทำอะไรไม่ค่อยได้ อย่างเช่นการผลิตแร่ใยยินเราประเทศเรายังใช้กันอยู่อย่างนี้ มันเป็นอันตรายมากเลยนะ ของอเมริกาเขายกเลิกไม่ให้นำเข้า ไม่ให้ผลิตในประเทศเลย แต่ประเทศไทยก็ยังมีการใช้อยู่ ยาฆ่าแมลง อะไรพวกนี้ การที่พวกเขายังใช้กันอยู่เพราะว่ายังร่างกายแข็งแรงกันอยู่ ถ้าไม่เจ็บไม่ป่วยก็ไม่มีใครรู้ว่ามันเป็นยังไง

ฉัน :        พี่คิดว่าสถาปนิกที่จบจากลาดกระบังผลิตออกมามีคุณภาพอย่างไรบ้างคะ
พี่เอก
:    จริงๆ มันแยกได้หลายพาร์ทเลยนะ อย่างแรกเลย คือหาตัวเองให้เจอก่อน สิ่งที่เป็นอยู่และสิ่งที่อยากเป็น มันเหมือนเส้นสองเส้นที่มาบรรจบกัน บางครั้งที่เราเจอที่มันใช่ เราอาจจะไม่ชอบ บางทีที่เรียนมามันก็ลำบาก พอมาทำแล้วก็เจองานที่มันลำบาก คนก็ไม่ค่อยอยากทำกัน  เรื่องจิตวิญญาณ ศีลธรรม จริยธรรม ขาดคุณธรรม ขาดความพยายามเนื่องจากมีสิ่งที่สามารถอำนวยความสะดวกได้ง่าย ทำให้การติดต่อประสานงาน การพยายามเข้าหาคนมันน้อยลง แล้วก็ความรับผิดชอบเดี๋ยวนี้ก็ลดลงเยอะ ไม่ค่อยมีใครอยากทำงานด้านก็สร้างเนื่องจากมันลำบาก แล้วก็ไม่ได้เงินเยอะเลยนะ ถามว่างานมันมีไหม มันก็มีเรื่อยๆนะ แต่คนที่จะทำมันน้อย พวกที่จบวิศวกรโยธาที่จะเข้ามาทำงานก็น้อยเพราะว่าไม่มีใครเขาอยากเหนื่อยกัน

ฉัน
:        ค่ะ อยากขอให้พี่ช่วยเล่าบรรยากาศตอนเรียนให้ฟังอะคะ
พี่เอก
:    ยุคที่ผมอยู่มันเป็นยุคที่ครึ่งๆ กลางๆ ระหว่างเทคโนโลยี การสื่อสารมันก็ยังดีอยู่ สมัยก่อนก็หยอดตู้โทรศัพท์กันทำอะไรมันต้องรอ ต้องเผื่อเวลา คนเราใช้ความพยายามเพื่อที่จะเข้าหากัน ติดต่อกันมันทำให้เห็นคุณค่าของการติดต่อสื่อสานประสานงาน แต่เดี๋ยวนี้สถาปนิกมันถูกทำลายโปรแกรมที่เป็นอิเล็กทรอนิก พวกอีเมล ไลน์ อะไรพวกนี้ อย่างเช่นโครงการหนึ่ง เจ้าของเป็นคนอเมริกา ตัวดีไซเนอร์เป็นคนออสเตรเลีย แล้วผู้รับเหมาคือคนญี่ปุ่น ซึ่งเวลาแต่ละประเทศไม่ตรงกันเลยเราจะต้องถูกปลุกเวลาไหนก็ได้ทำให้วงจรชีวิตมันเสียไป ทำลายสุขภาพ

                การเดินทางแต่ก่อนเรือก็ยังมียังใช้กันอยู่ ที่กินเหล้าก็ไม่ค่อยมี ไม่มีรถติดเพราะแต่ก่อนถนนก็ยังสร้างไม่เสร็จ ตอนนั้นก็ยังสร้างสุวรรณภูมิอยู่แต่ก็ยังสงบ ยังหาหิ่งห้อยเจอ


ฉัน
:        สุดท้ายแล้วพี่อยากฝากอะไรถึงน้องๆไหมคะ
พี่เอก
:    ชีวิตที่เรามีทุกวันนี้ อะไรๆ มันง่ายดายมากขึ้น การที่ทำทุกอย่างให้มันน้อยลงทำให้ไม่รู้ถึงการมีของสิ่งรอบข้าง ทุกวันนี้คนเราใช้ชีวิตอยู่กับตัวเองมากกว่าคนที่อยู่ข้างๆ ให้ความสำคัญกับคนอื่นหรือกับเพื่อที่อยู่คนละทีมากกว่าคนที่อยู่ข้างๆ กันทำให้คนพวกนี้มีปัญหาอย่างมากกับการสื่อสาร การปรับตัวเข้ากับคนอื่นที่อยู่ร่วมภายในสังคมเดียวกัน เราต้องรู้จักเห็นใจคนอื่น มีคนหลายระดับมากที่เราต้องรู้จักและต้องประสานงาน ปรับตัวเพื่อความเข้าใจกัน สิ่งที่เป็นปัญหาตอนนี้คือการบริหารความรู้สึกคนเพราะมัวแต่เอาความรู้สึกของตัวเองเป็นใหญ่ สนใจตัวเองก่อน ไม่ค่อยพยายามที่จะเข้าใจคนอื่น


             ขอขอบคุณพี่เอกมากๆ สำหรับการให้สำภาษณ์และคำแนะนำต่างๆ มากมายค่ะ สิ่งที่พี่ได้บอกมาจะพยายามนำมาปรับใช้กับชีวิตปัจจุบัน เพราะเป็นสิ่งที่ดีและน่าสนใจในหลายๆ เรื่องมากๆ อยากให้คนที่เข้ามาอ่านได้ลองปรับใช้ และปฏิบัติตามในสิ่งที่ดีด้วยค่ะ :)
 

วันพุธที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2557

มาตรฐานป้องกัน อัคคีภัยของ NFPA (National Fire Protection Association)

NFPA เป็นชื่อย่อของ National Fire Protection Association 





สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่ Quincy, Massachusetts, USA. เป็นองค์สากลไม่แสวงหากำไร ก่อตั้งมาเป็นเวลา 116 ปี มีพันธกิจ คือ การลดภาระของโลกจากอัคคีภัยและภัยอื่นๆต่อคุณภาพชีวิตมนุษย์โดยการจัดทำมาตรฐานแบบฉันทามติ (ฉันทามติ คือ การกำหนดสัดส่วนของคณะกรรมการทำมาตรฐานให้มาจากผู้ประกอบอาชีพต่างๆที่เกี่ยวข้องอย่างครบถ้วน โดยมีสัดส่วนที่ยุติธรรมไม่มีกลุ่มใดที่สามารถชี้นำทิศทางการทำมาตรฐานให้ได้ประโยชน์ส่วนตน)



        ภารกิจหลักของ NFPA คือ จัดทำและสนับสนุนการกำหนดมาตรฐาน ที่พัฒนามาจากสถิติและข้อมูลความเสียหายจริงของชีวิตและทรัพย์สิน อันเนื่องมาจากอัคคีภัยและอุบัติภัยต่างๆ ด้วยวิธีประชามติ การวิจัย การฝึกอบรม และการให้ความรู้ โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะลดปัญหาและความสูญเสียที่อาจเกิดขึ้นจากอัคคีภัยและอุบัติภัยต่างๆ เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของประชากรโลก

     NFPA มีสมาชิกกว่า 70,000 รายทั่วโลกและมีมาตรฐานกว่า 300 ประเภท ถูกใช้เป็นมาตรฐานอ้างอิง ในการออกแบบ และก่อสร้างด้านความปลอดภัยในนานาประเทศรวมทั้งประเทศไทย ตัวอย่างโครงการที่สำคัญ เช่น รถไฟฟ้าใต้ดิน รถไฟฟ้า BTS และสนามบินสุวรรณภูมิ

      สำหรับกิจกรรม NFPA ในประเทศไทยเริ่มจากปี พ.ศ. 2539 ได้ส่งผู้จัดการภูมิภาคมาประจำในประเทศไทย เพื่อทำหน้าที่ส่งเสริมการยกระดับมาตรฐานการป้องกันอัคคีภัยในกลุ่มประเทศ เอเชียแปซิฟิก โดยเน้นการทำงานในประเทศไทยร่วมกับคณะกรรมการป้องกันอุบัติภัยแห่งชาติ (กปอ.) มีผลงานที่สำคัญคือ เข้าตรวจสอบหาข้อบกพร่องของปัจจัยสำคัญที่ทำให้การเกิดอัคคีภัยครั้งใหญ่นำ มาซึ่งความเสียหายทั้งชีวิตและทรัพย์สินที่โรงแรม รอยัล จอมเทียน เมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี โดยมีผู้เสียชีวิตถึง 91 รายโดยรายงาน ของเหตุการณ์ครั้งนั้นชี้ให้เห็นว่าอาคารได้ถูกออกแบบและก่อสร้างถูกต้องตาม กฎหมาย แต่เมื่อเกิดอัคคีภัยระบบความปลอดภัยต่างๆไม่สามารถทำงานได้ในขณะเกิดเหตุ  เนื่องจากขาดการบำรุงรักษาที่ถูกต้องอย่างสม่ำเสมอ สรุปเป็นประเด็นสำคัญได้ว่าการกำกับดูแลอาคารในประเทศยังขาดกระบวนการติดตาม และตรวจสอบอาคารหลังจากเปิดใช้งาน  ในปี พ.ศ. 2548 จึงมีการประกาศกฎกระทรวง 2 ฉบับคือ

1)    กฎกระทรวง กำหนดประเภทอาคารที่ต้องจัดให้มีผู้ตรวจสอบ พ.ศ. 2548
2)    กฎกระทรวง กำหนดคุณสมบัติของผู้ตรวจสอบ หลักเกณฑ์การขอขึ้นทะเบียนและการเพิกถอนการขึ้นทะเบียนเป็นผู้ตรวจสอบ และหลักเกณฑ์การตรวจสอบอาคาร


   กฎกระทรวง กำหนดประเภทอาคารที่ต้องจัดให้มีผู้ตรวจสอบ พ.ศ. 2548
• หลังจากที่กฎกระทรวงกำหนดประเภทอาคารที่ต้องจัดให้มีผู้ตรวจสอบ ได้ออกใช้บังคับเมื่อเดือนตุลาคม 2548 (ดูข่าวในจดหมายเหตุ ฉบับ 11-2548) กฎกระทรวงอีกฉบับก็ออกตามมาในเดือนธันวาคม กฎกระทรวงฉบับนี้คือ กฎกระทรวง กำหนดคุณสมบัติเฉพาะของผู้ตรวจสอบ หลักเกณฑ์การขอขึ้นทะเบียนและการเพิกถอนการขึ้นทะเบียนเป็นผู้ตรวจสอบ และหลักเกณฑ์การตรวจสอบอาคาร พ.ศ. 2548

• ตามกฎกระทรวงฉบับนี้ อาคารชนิดและประเภทที่ต้องจัดให้มีการตรวจสอบอาคารที่สร้างเสร็จมาแล้วไม่ น้อยกว่า 1 ปี จะต้องจัดให้มีการตรวจสอบใหญ่เป็นครั้งแรกให้แล้วเสร็จและเสนอผลการตรวจสอบ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่น ภายใน 2 ปี นับแต่วันที่กฎหมายเริ่มใช้บังคับ นั่นคือวันที่ 14 กันยายน 2550 (ยกเว้น อาคารบางประเภทตามกฎกระทรวงกำหนดประเภทอาคารที่ต้องจัดให้มีผู้ตรวจสอบ) ส่วนอาคารที่สร้างใหม่ ภายใน 1 ปี

•             สาระสำคัญโดยย่อของกฎกระทรวงฉบับนี้ คือ
-              ผู้ตรวจสอบ อาจเป็นบุคคลธรรมดา หรือ นิติบุคคลก็ได้เป็นสถาปนิกหรือวิศวกรที่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพผ่านการอบรมหลักสูตรเกี่ยวกับวิธีการตรวจสอบสภาพอาคารและอุปกรณ์ประกอบของ อาคารที่คณะกรรมการควบคุมอาคารรับรอง (ถ้าเป็นนิติบุคคล คณะผู้บริหารไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งต้องผ่านการอบรม)
-             จะต้องขึ้นทะเบียน เป็นผู้ตรวจสอบต่อคณะกรรมการควบคุมอาคาร (ผ่านสำนักควบคุมและตรวจสอบอาคาร กรมโยธาธิการและผังเมือง หรือสำนักงานโยธาธิการและผังเมืองจังหวัด)ในการขอขึ้นทะเบียน ผู้ขอจะต้องยื่นสัญญาประกันภัยและกรมธรรม์ประกันภัยเพื่อเป็นการประกันความ รับผิดตามกฎหมายที่เกิดจากความบกพร่องในการปฏิบัติงานไม่เป็นไปตามเกณฑ์ มาตรฐาน จำนวนเงินคุ้มครองไม่น้อยกว่าหนึ่งล้านบาทต่อ ครั้ง ไม่น้อยกว่าสองล้านบาทต่อปี และมีระยะเวลาคุ้มครองไม่น้อยกว่า 3 ปี


-               หนังสือรับรองการขึ้นทะเบียน มีอายุ 2 ปี

สัญลักษณ์ต่าง ๆ ของระบบ NFPA



                   ระบบ NFPA กำหนดสัญลักษณ์แสดงอันตรายเป็นรูปเพชร (Diamond-shape) กล่าวคือเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสที่วางตั้งตามแนวเส้นทะแยงมุม ภายในแบ่งออกเป็นสี่เหลี่ยมย่อยขนาดเท่ากัน 4 รูป ใช้พื้นที่กำกับ 4 สี ได้แก่ สีแดง แสดงอันตรายจากไฟ(Flammability) สีน้ำเงิน แสดงอันตรายต่อสุขภาพ (Health) สีเหลือง แสดงความไวต่อปฏิกริยาของสาร (Reactivity) สีขาวแสดงคุณสมบัติพิเศษของสาร และใช้ตัวเลย 0 ถึง 4 แสดงถึงระดับอันตราย ดังรูปที่ 1 และสรุปรายละเอียดสัญลักษณ์ต่าง ๆ ของระบบนี้


สี่เหลี่ยมพื้นสีแดง            แสดงอันตรายจากไฟ(Flammability)

ระดับ 4           สารไวไฟมาก ได้แก่สารที่ระเหยเป็นไอได้รวดเร็วที่อุณหภูมิห้องที่ความดันบรรยากาศ เมื่อกระจายตัวผสมกับอากาศแล้วติดไฟได้ หรือของเหลวที่มีจุดวาบไฟ (Flash point) ต่ำกว่า 22.8 C จุดเดือดน้อยกว่า 37.8 C รวมทั้งสารที่ติดไฟได้เอง เมื่อสัมผัสกับอากาศ
ระดับ 3           ของเหลวหรือของแข็งที่ติดไฟได้ในอากาศ ที่อุณหภูมิปกติ ได้แก่สารที่มีจุดวาบไฟน้อยกว่า 22.8 C และจุดเดือดมากกว่า 37.8 oC
ระดับ 2            สารที่ต้องใช้ความร้อนปานกลางก่อนจะติดไฟในอากาศ ถ้ามีปริมาณมากพออาจก่อให้เกิดบรรยากาศที่เป็นพิษ ได้ ได้แก่ของเหลวที่มีจุดวาบไฟ สูงกว่า 37.8 oC แต่ไม่เกิน 93.4oC
ระดับ 1            สารประเภทที่ต้องให้ความร้อนสูงก่อนจะติดไฟและเผาไหม้ในอากาศได้ ได้แก่สารที่มีจุดวาบไฟสูงกว่า 93.4 
ระดับ 0            วัตถุที่ไม่ติดไฟในอากาศ แม้ว่าจะให้ความร้อนสูงถึง 815.5 oC นานถึง 5 นาที

สี่เหลี่ยมพื้นสีน้ำเงิน          แสดงอันตรายต่อสุขภาพ (Health)

ระดับ 4             สารที่ได้รับเพียงเล็กน้อยจะทำให้ตายได้ หรือเป็นอันตรายรุนแรงได้รวมทั้งสารที่จะเป็นอันตรายอย่างมาก 
                               ถ้าใช้งานโดยปราศจากอุปกรณ์ป้องกัน
ระดับ 3              สารที่เมื่อสูดดมในเวลาสั้น ๆ หรือสัมผัสผิวหนัง ประมาณเล็กน้อยจะเป็นอันตรายร้ายแรงชั่วคราว
                               หรือมีผลตกค้างได้
ระดับ 2              สารที่เมื่อได้รับในปริมาณที่มากพอจะทำให้เกิดทุพพลภาพชั่วคราว หรือถาวรได้ รวมถึงสารที่ต้องใช้เครื่อง                                      ป้องกันอันตรายต่อระบบทางเดินหายใจ
ระดับ 1              สารที่เมื่อได้รับในระยะเวลาสั้น ๆ จะเกิดการระคายเคืองได้
ระดับ 0              สารประเภทนี้ ไม่เป็นอันตราย นอกจากเวลาติดไฟ


สี่เหลี่ยมพื้นสีเหลือง          แสดงความไวต่อปฏิกริยาของสาร (Reactivity)

ระดับ 4            สารที่สามารถย่อยสลายตัวหรือระเบิดได้ด้วยตัวเองที่อุณหภูมิห้องและความดันปกติ รวมถึงสารที่ไวต่อความร้อน และแรงสั่นสะเทือน
ระดับ 3           สารที่สลายหรือเกิดระเบิดได้ เมื่อได้รับความร้อนหรือแรงสันสะเทือนที่สูงพอ รวมถึงที่เกิดระเบิดได้เมื่อถูกน้ำ
ระดับ 2           สารที่จะเกิดปฏิกิริยารุนแรงในอุณหภูมิและความดันปกติ รวมถึงสารที่เกิดปฏิกิริยารุนแรงกับน้ำ
ระดับ 1           สารประเภทนี้ จะมีความคงตัวในสภาวะปกติ แต่ไม่มีความคงตัวเมื่ออุณหภูมิหรือความดันเพิ่ม รวมถึงสารที่สลายตัวเมื่อถูกอากาศ แสงสว่าง หรือความชื้น
ระดับ 0             สารประเภทนี้มีความคงตัวสูง แม้ว่าจะได้รับความร้อนก็ตาม รวมถึงสารที่ไม่ทำปฏิกิริยากับน้ำ

สี่เหลี่ยมพื้นสีขาว          แสดงข้อควรระวังพิเศษ (Special notice)

เนื่องจากสารบางชนิดมีสมบัติเฉพาะตัวที่ควรสนใจเพราะอาจก่อให้เกิดอันตรายได้ คุณสมบัติของสารเหล่านี้จะแสดงด้วยอักษรย่อ หรือสัญลักษณ์ ดังนี้
OX:          เป็นสารออกซิไดซ์ สารเหล่านี้เมื่อเกิดปฏิกิริยาเคมีจะให้ออกซิเจน หรืออีเลคตรอน
W:            เป็นสารที่ทำปฏิกิริยารุนแรงกับ
          
หลักการการตรวจสอบอาคาร

-                การตรวจสอบอาคารและอุปกรณ์ประกอบของอาคาร จะมี 2 ประเภท คือการตรวจสอบใหญ่ ทำทุก 5 ปี และ การตรวจสอบประจำปี (หลักเกณฑ์ในการตรวจสอบอาคารขอให้ดูรายละเอียดในหมวด 4 ของกฎกระทรวง)
-                ผู้ตรวจสอบต้องไม่ดำเนินการตรวจสอบอาคารที่ผู้ตรวจสอบหรือคู่สมรส หรือพนักงาน เป็นผู้ออกแบบ คำนวณ ควบคุม ก่อสร้าง ติดตั้งอุปกรณ์ ของอาคารนั้น และอาคารที่ผู้ตรวจสอบหรือคู่สมรสเป็นเจ้าของหรือมีส่วนร่วมในการบริหาร จัดการหรือใช้เป็นสถานประกอบการ
-               ผู้ตรวจสอบจัดทำรายงานผลการตรวจสอบให้แก่เจ้าของอาคาร หากมีสิ่งใดไม่ผ่านหลักเกณฑ์ก็จัดทำข้อเสนอแนะในการแก้ไขปรับปรุงให้แก่ เจ้าของอาคารด้วย
-               เจ้าของอาคารเสนอรายงานผลการตรวจสอบต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นภายใน 30 วัน ก่อนใบรับรองการตรวจสอบอาคารฉบับเดิมมีระยะเวลาครบหนึ่งปี
-              เจ้าพนักงานท้องถิ่นพิจารณาแล้วแจ้งผลให้เจ้าของอาคารทราบภายใน 30 วัน หากผ่าน ก็ออกใบรับรองการตรวจสอบอาคาร (ร.1) ให้ และเจ้าของอาคารนำไปแสดงไว้ในที่เปิดเผย เห็นได้ง่ายในอาคารนั้น

แนวคิดการตรวจสอบอาคาร



ขอบเขตของการตรวจสอบอาคาร
ส่วนที่ 1     ขอบเขตของผู้ตรวจสอบอาคาร
          ผู้ตรวจสอบมีหน้าที่ตรวจสอบ สังเกตด้วยสายตาพร้อมด้วยเครื่องมือพื้นฐานเท่านั้น จะไม่รวมถึงการทดสอบที่อาศัยเครื่องมือพิเศษเฉพาะ ทำรายงาน รวบรวมและสรุปผลการ วิเคราะห์ ทางด้านความมั่นคงแข็งแรง และระบบต่าง ที่เกี่ยวข้องเพื่อความปลอดภัยของชีวิตและทรัพย์สินของผู้ใช้สอยอาคาร แล้วจัดทำรายงานผลการตรวจสอบสภาพอาคารและอุปกรณ์ประกอบของอาคารที่ทำการตรวจสอบนั้นให้แก่เจ้าของอาคาร เพื่อให้เจ้าของอาคารเสนอรายงานผลการตรวจสอบอาคารและอุปกรณ์ประกอบของอาคารต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นทุกปี

ลักษณะบริเวณที่ต้องตรวจสอบผู้ตรวจสอบจะตรวจสอบ รายงาน และประเมินลักษณะบริเวณที่
นอกเหนือจากอาคารดังต่อไปนี้
(1) ทางเข้าออกของรถดับเพลิง
(2) ที่จอดรถดับเพลิง
(3) สภาพของรางระบายน้ำ

2.3 ระบบโครงสร้าง
2.3.1 ผู้ตรวจสอบจะตรวจสอบตามรายละเอียดดังต่อไปนี้
(1) ส่วนของฐานราก
(2) ระบบโครงสร้าง
(3) ระบบโครงหลังคา
2.3.2 สภาพการใช้งานตามที่เห็น การสั่นสะเทือนของพื้น การแอ่นตัวของพื้นคาน หรือตง และการเคลื่อนตัวในแนวราบ
2.3.3 การเสื่อมสภาพของโครงสร้างที่จะมีผลกระทบต่อความมั่นคงแข็งแรงของระบบโครงสร้างของอาคาร
2.3.4 ความเสียหายและอันตรายของโครงสร้าง เช่น ความเสียหายเนื่องจากอัคคีภัยความเสียหายจากการแอ่นตัวของโครงข้อหมุน และการเอียงตัวของผนัง เป็นต้น

2.4 ระบบบริการและอำนวยความสะดวก
2.4.1 ระบบลิฟต์
ผู้ตรวจสอบจะทำการตรวจสอบครอบคลุมอย่างน้อย ดังนี้
(1) ตรวจสอบอุปกรณ์ระบบลิฟต์
(2) ตรวจสอบการทำงานของลิฟต์
(3) ตรวจสอบการดูแลรักษา ซ่อมบำรุง มีรายงานการตรวจสอบมีใบรับรองการตรวจสอบ และการทดสอบระบบในอดีตที่ผ่านมา
2.4.2 ระบบบันไดเลื่อน
ผู้ตรวจสอบจะทำการตรวจสอบครอบคลุมอย่างน้อย ดังนี้
(1) ตรวจสอบอุปกรณ์ระบบของบันไดเลื่อน
(2) ตรวจสอบการทำงานของบันไดเลื่อน
(3) ตรวจสอบการดูแลรักษา ซ่อมบำรุง มีรายงานการตรวจสอบมีใบรับรองการตรวจสอบ และการทดสอบระบบในอดีตที่ผ่านมา

ส่วนที่ 2 ข้อมูลทั่วไปของอาคาร

1.      ข้อมูลอาคารและสถานที่ตั้งอาคาร
ชื่ออาคาร…………………………………………
ตั้งอยู่เลขที่…………..ตรอก/ซอย……………………. ถนน………
ตำบล/แขวง……….อำเภอ/เขต…………….
จังหวัด………………….รหัสไปรษณีย์………………..
โทรศัพท์………………โทรสาร……………………..
ได้รับใบอนุญาตก่อสร้างจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น เมื่อวันที่เดือน……พ.ศ
มี แบบแปลนเดิม หรือ ไม่มี แบบแปลนเดิม ( กรณีที่ไม่มีแบบแปลนหรือแผนผังรายการเกี่ยวกับการ
ก่อสร้างอาคาร ให้เจ้าของอาคารจัดหาหรือจัดทำแบบแปลนการตรวจสอบอาคารและอุปกรณ์ประกอบของอาคารให้กับผู้ตรวจสอบอาคาร )

2.     ชื่อเจ้าของอาคาร และผู้ครอบครองอาคาร
เจ้าของอาคาร ชื่อ …………….
สถานที่ติดต่อเลขที่ 310 หมู่ที่ - ตรอก/ซอย -
ถนนพหลโยธิน ตำบล/แขวง สามเสนใน อำเภอ/เขตพญาไท
จังหวัด กรุงเทพมหานคร รหัสไปรษณีย์ 10400 โทรศัพท์ 02265-
4140 โทรสาร 02-265-4147 อีเมล...................................................

3. ประเภทของอาคารและข้อมูลสิ่งก่อสร้าง (สามารถระบุมากกว่า 1 ข้อได้)
3.1 ประเภทของอาคาร
3.2 ประเภทอาคารตามลักษณะโครงสร้าง (ระบุ)
3.3 ข้อมูลอาคาร

4. ลักษณะการใช้งานหรือการประกอบกิจกรรมของอาคาร

ส่วนที่ 3 ผลการตรวจสอบอาคารในด้านความปลอดภัยตามกฎหมาย
           เป็นการตรวจสอบตามเกณฑ์ขั้นต่ำของกฎหมายที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวงออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.. 2522 ที่บังคับใช้ขณะที่ก่อสร้างอาคาร
ในการตรวจสอบให้ใช้แบบรายละเอียดการตรวจสอบแล้วแต่กรณี ดังนี้
1.      อาคารสูง และอาคารขนาดใหญ่พิเศษที่ก่อสร้างหลังการบังคับใช้กฎกระทรวง ฉบับที่ 33( ..2535 ) ทั้งกรณีก่อน และ หลังการบังคับใช้กฎกระทรวง ฉบับที่ 50 ( ..2540 ) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ..2522 ใช้ตามแบบ 1.

2.      อาคารสูง และอาคารขนาดใหญ่พิเศษที่ก่อสร้างก่อนการบังคับใช้กฎกระทรวง ฉบับที่ 33 ( ..2535 ) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ..2522 ใช้ตามแบบ 2




ส่วนที่ 4 ผลการตรวจสอบสภาพอาคารและอุปกรณ์ประกอบของอาคาร
          เป็นการพิจารณาตามหลักเกณฑ์ หรือมาตรฐานที่ได้กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร หรือ
กฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่มีการก่อสร้างอาคารนั้น และคำนึงถึงหลักเกณฑ์
หรือมาตรฐานความปลอดภัยของสถาบันทางราชการสภาวิศวกร หรือสภาสถาปนิก
          การตรวจสอบตัวอาคาร ให้ตรวจสอบความมั่นคงแข็งแรงของอาคาร ดังนี้
การต่อเติมดัดแปลงปรับปรุงตัวอาคาร
การเปลี่ยนแปลงน้ำหนักบรรทุกบนพื้นอาคาร
การเปลี่ยนสภาพการใช้อาคาร
การเปลี่ยนแปลงวัสดุก่อสร้างหรือวัสดุตกแต่งอาคาร
การชำรุดสึกหรอของอาคาร
การวิบัติของโครงสร้างอาคาร
การทรุดตัวของฐานรากอาคาร

ส่วนที่ 5 สรุปผลการตรวจสอบอาคาร
      เป็นสรุปผลการตรวจสอบตัวอาคาร ระบบและอุปกรณ์ต่าง ๆ ของอาคาร รวมทั้ง การตรวจสอบ
สมรรถนะของระบบและอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยจากอัคคีภัยของอาคาร ตามที่ผู้ตรวจสอบ
อาคารได้ตรวจสอบด้วยสายตา หรือตรวจพร้อมกับใช้เครื่องมือวัดพื้นฐาน


การเตรียมการสำหรับผู้ตรวจสอบ
 -     ผู้ตรวจสอบควรมีสภาพร่างกายที่พร้อมต่อการตรวจสอบอาคาร
มีความช่างสังเกตและจดจำ หาข้อมูลที่เกี่ยวข้องให้ได้มากที่สุด
และบันทึกรายละเอียดอย่างถูกต้องครบถ้วน

-     ผู้ตรวจสอบควรมีทีมงานที่พร้อมตรวจสอบ
-     มีอุปกรณ์หรือเครื่องมือพื้นฐานที่จำเป็น
-     ผู้ตรวจสอบต้องมีความรู้ความเข้าใจในข้อกฎหมาย และมาตรฐานความปลอดภัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
-     ผู้ตรวจสอบต้องจัดเตรียมคู่มือสำหรับตรวจสอบและการวางแผนการทำงานตรวจสอบและการบำรุงรักษาอาคาร เกณฑ์การทำงานต่าง ๆ
(รายละเอียดการตรวจสอบอาคารและอุปกรณ์ประกอบของอาคารประจำปี,แผนการตรวจสอบอาคารและอุปกรณ์ประกอบของอาคารประจำปี และแนะแนวทางการตรวจสอบตามแผนง,แผนปฏิบัติการตรวจบำรุงรักษาอาคารและอุปกรณ์ประกอบของอาคารและคู่มือปฏิบัติการตามแผน)