วันพุธที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

Interview รุ่นพี่สถาปนิก idol

         รุ่นพี่ที่ขออนุญาตสัมภาษณ์ในครั้งนี้คือ พี่เอก สถ.37 คะ ซึ่งปัจจุบันนี้พี่เอกกำลังเรียนต่อปริญญาโท สาขาวิชาเทคโนโลยีสถาปัตยกรรม ที่สถาบันพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบังค่ะ


ฉัน  :       สวัสดีค่ะพี่ ขอทราบประวัติส่วนตัวเล็กน้อยนะคะ พี่เอกจบเข้าเรียนที่นี่ตั้งแต่เมื่อไรคะ แล้วปัจจุบันนี้พี่ทำงานอยู่ที่ไหนคะ
พี่เอก
:    พี่เข้าเรียนที่นี่ตอนปี 37 จบปี 41 ซึ่งตอนนั้นเจอวิกฤตการณ์ต้มยำกุ้งพอดี ทำให้ยังไม่ได้ทำงานไปครึ่งปี ตอนเริ่มทำงาน งานแรกเลยคือเป็นบริษัทรับสร้างบ้าน งานที่ทำไม่ใช่งานดีไซน์แต่เป็นพวกออกแบบดีเทล และก็ทำแบบ ทำงานที่นี่อยู่ครึ่งปี จากนั้นก็ไปทำงานพวกรีโนเวทอาคาร ส่วนใหญ่จะเป็นพวกห้างสรรพสินค้า ทำงานนี้อยู่สองปี แล้วก็มีงานบ้านเศรษฐีด้วย พอหลังจากนั้นได้เจอกับรุ่นพี่ที่งานไม้สด เค้าเลยชวนให้ไปทำงานคอนเซ้าท์ ซึ่งส่วนใหญ่งานที่ทำจะเป็นงานเกี่ยวกับอาคารราชการ และห้างสรรพสินค้า ทำอยู่สามปี แล้วก็ไปทำบริษัทดีไซน์อยู่ห้าปี ซึ่งส่วนใหญ่งานที่รับจะเป็นงานพวกดีเทล อาคารและการเขียนแบบขออนุญาต ส่วนตอนนี้ก็ทำงานเป็นคอนเซาท์อยู่
ฉัน
:        พี่เอกทำงานไปด้วยเรียนไปด้วยหรอคะ แล้วอย่างนี้ก็ต้องตกลงกับบริษัทก่อนหรือเปล่าคะ
พี่เอก
:    ใช่ แล้วเราก็คุยกับบริษัทไว้ว่ามาเรียนสองวัน แล้วเราก็ต้องทำงานชดเชยให้
ฉัน
:        ถ้าอย่างงั้นแสดงว่าวันเสาร์อาทิตย์ก็ต้องทำงานด้วยหรอคะ
พี่เอก
:    ใช่ครับ
ฉัน
:        แล้วผลงานที่พี่คิดว่าเป็นงานที่พี่ชอบทำ หรืองานที่พี่คิดว่าเป็นเป็นความภูมิใจในการทำงานหละคะ
พี่เอก
:    ผมไม่ได้ทำงานได้ดีไซน์โดยตรงเลยนะส่วนใหญ่จะเป็นพวกงานออกแบบดีเทลและงานคอนเซาท์มากกว่าก็เลยไม่มีงานที่เป็นผลงานของตัวเอง

ฉัน
:       คะ แล้วสำหรับพี่คิดว่าอะไรคือสิ่งที่เป็นอุปสรรคในการทำงาน ในการประกอบวิชาชีพบ้างคะ
พี่เอก
:    ผมว่าสุขภาพสำคัญที่สุดเลยนะร่างกายเรา พอพักผ่อนไม่เพียงพอมันก็ส่งผลถึงกันหมด ไม่ว่าจะเป็น ตับไต หัวใจ บางคนนี่กินไม่รักษาตัวเองก็มี เป็นกันเยอ ะร่างกายเราไม่ค่อยได้พักแถมยังเจอกับอะไรพวกนี้ มีบางคนก็เป็นโรคหัวใจโตทั้งๆ ที่อายุไม่มาก แล้วก็มีคนหนึ่งที่ออฟฟิสหัวใจวายตาย ตื่นเช้ามายามมาเจอนอนอยู่โต๊ะก็เสียชีวิตแล้ว เป็นหลอดเลือดในสมองตีบพวกนี้ ตอนนี้ร่างกายเราก็เริ่มไม่ไหวกันแล้ว ตอนวัยรุ่นก็ยังพอจะอดนอนกันไหว สุขภาพร่างกายถือเป็นเรื่องที่สำคัญสำหรับคนเรา

ฉัน :        สิ่งที่พี่ยึดเป็นเหมือนเป็นหลักและเป็นข้อคิดในการทำงานคืออะไรคะ
พี่เอก
:    งานที่เราทำเป็นงานเกี่ยวกับการติดต่อประสานงาน บริหารคนจำนวนมากเราต้องรู้จักให้โอกาส ให้อภัยกัน ต้องรู้จักมองคนอื่นในแง่ดี ไม่โทษว่าเป็นความผิดของใคร ซึ่งเราทำงานที่มันเกี่ยวกับคน เวลาที่แก้ปัญหามันก็จะลำบากนิดนึง เราทำงานก่อสร้างนี่ไม่ใช่งานสบายเลยนะ มักจะถูกเอารัดเอาเปรียบเสมอ เพราะที่เราทำงานอยู่มันเจอแต่พวกมลพิษ อย่างเวลาสร้างตึกนี่ ออฟฟิสจะอยู่ชั้นใต้ดินซึ่งมีแต่ฝุ่นกับความชื้นเป็นปัญหาสุขภาพอีก พวกที่เป็นแม่บ้าน หรือยามตึกนี่ยังมีสวัสดิการนะ แต่เรากลับไม่มี

ฉัน
:        พี่มีความคิดเห็นอย่างไรกับเรื่องของจรรยาบรรณวิชาชีพบ้างคะ
พี่เอก
:    ส่วนใหญ่เราไม่ค่อยได้ใช้มาก พวกที่ใช้ส่วนใหญ่คือพวกที่เป็น DISIGNER คือจริงๆ แล้วมันก็มาจากโครงสร้างสังคมของบริษัทเลย ถ้าสร้างความโปร่งใสภายในโครงการ ไม่สร้างความกดดันให้แก่ผู้ร่วมวิชาชีพมันก็อยู่ร่วมกันได้อย่างสบาย มีบางทีเหมือนกันที่สร้างความกดดัน หรือทำให้คนงานไม่พอใจ เขาก็แอบตัดสายไฟบ้าง หยอดปูนใส่ในท่อระบายน้ำ หรือขโมยของกลับไปเอาไปขายก็มี
ฉัน
:        แล้วถ้าตัวอย่างการโกงของโครงการที่เคยเจอมาก่อนละคะ
พี่เอก
:    ส่วนใหญ่ก็จะเป็นการโกงขนาดพื้นที่ของโครงการ ระยะถอยร่น แล้วก็โกงอากาศ พื้นที่สีเขียว การปล่อยก๊าซ Co2 ส่วนใหญ่ก็มักจะเล่นกับกฎหมาย
ฉัน
:        แล้วอย่างนี้ไม่มีการตรวจสอบภายหลังหรอคะ
พี่เอก
:    ส่วนใหญ่แล้วเจ้าของโครงการมักจะแก้ไขปัญหาโดยการโป๊ะเงิน มันอาจจะเป็นเงินมากอยู่แต่มันก็คุ้มกับการแลกมากับรายได้ที่มากกว่า ซึ่งพวกนี้ส่วนใหญ่จะมีนักวางแผน นักการตลาดมาเกี่ยวข้องกับการกำหนดพื้นที่ บางทีเราคิดว่าอย่างนี้จะดีกว่านะ ให้พื้นที่สีเขียว พื้นที่อากาศสิ แต่ตามทางการตลาดแล้วเราก็ต้องการพื้นที่ขายให้มากที่สุด วึ่งมันก็ขึ้นอยู่กับเจ้าของโครงการ
ฉัน
:        แล้วพี่มีความเห็นยังไงกับการออกแบบเพื่อสิ่งแวดล้อมบ้างคะ
พี่เอก
:    ส่วนใหญ่คนเราจะไม่ค่อยคิดถึงปลายทางของห่วงโซ่อาหาร ส่วนใหญ่ผู้ผลิตจะเป็นพ่อค้าของห่วงโซ่อาหาร ผู้ผลิตต้องนึกถึงวิธีการการผลิต วิธีการดำเนินการ และยังต้องควบคุมตลาด ซึ่งผู้ใช้งานอย่างเราทำอะไรไม่ค่อยได้ อย่างเช่นการผลิตแร่ใยยินเราประเทศเรายังใช้กันอยู่อย่างนี้ มันเป็นอันตรายมากเลยนะ ของอเมริกาเขายกเลิกไม่ให้นำเข้า ไม่ให้ผลิตในประเทศเลย แต่ประเทศไทยก็ยังมีการใช้อยู่ ยาฆ่าแมลง อะไรพวกนี้ การที่พวกเขายังใช้กันอยู่เพราะว่ายังร่างกายแข็งแรงกันอยู่ ถ้าไม่เจ็บไม่ป่วยก็ไม่มีใครรู้ว่ามันเป็นยังไง

ฉัน :        พี่คิดว่าสถาปนิกที่จบจากลาดกระบังผลิตออกมามีคุณภาพอย่างไรบ้างคะ
พี่เอก
:    จริงๆ มันแยกได้หลายพาร์ทเลยนะ อย่างแรกเลย คือหาตัวเองให้เจอก่อน สิ่งที่เป็นอยู่และสิ่งที่อยากเป็น มันเหมือนเส้นสองเส้นที่มาบรรจบกัน บางครั้งที่เราเจอที่มันใช่ เราอาจจะไม่ชอบ บางทีที่เรียนมามันก็ลำบาก พอมาทำแล้วก็เจองานที่มันลำบาก คนก็ไม่ค่อยอยากทำกัน  เรื่องจิตวิญญาณ ศีลธรรม จริยธรรม ขาดคุณธรรม ขาดความพยายามเนื่องจากมีสิ่งที่สามารถอำนวยความสะดวกได้ง่าย ทำให้การติดต่อประสานงาน การพยายามเข้าหาคนมันน้อยลง แล้วก็ความรับผิดชอบเดี๋ยวนี้ก็ลดลงเยอะ ไม่ค่อยมีใครอยากทำงานด้านก็สร้างเนื่องจากมันลำบาก แล้วก็ไม่ได้เงินเยอะเลยนะ ถามว่างานมันมีไหม มันก็มีเรื่อยๆนะ แต่คนที่จะทำมันน้อย พวกที่จบวิศวกรโยธาที่จะเข้ามาทำงานก็น้อยเพราะว่าไม่มีใครเขาอยากเหนื่อยกัน

ฉัน
:        ค่ะ อยากขอให้พี่ช่วยเล่าบรรยากาศตอนเรียนให้ฟังอะคะ
พี่เอก
:    ยุคที่ผมอยู่มันเป็นยุคที่ครึ่งๆ กลางๆ ระหว่างเทคโนโลยี การสื่อสารมันก็ยังดีอยู่ สมัยก่อนก็หยอดตู้โทรศัพท์กันทำอะไรมันต้องรอ ต้องเผื่อเวลา คนเราใช้ความพยายามเพื่อที่จะเข้าหากัน ติดต่อกันมันทำให้เห็นคุณค่าของการติดต่อสื่อสานประสานงาน แต่เดี๋ยวนี้สถาปนิกมันถูกทำลายโปรแกรมที่เป็นอิเล็กทรอนิก พวกอีเมล ไลน์ อะไรพวกนี้ อย่างเช่นโครงการหนึ่ง เจ้าของเป็นคนอเมริกา ตัวดีไซเนอร์เป็นคนออสเตรเลีย แล้วผู้รับเหมาคือคนญี่ปุ่น ซึ่งเวลาแต่ละประเทศไม่ตรงกันเลยเราจะต้องถูกปลุกเวลาไหนก็ได้ทำให้วงจรชีวิตมันเสียไป ทำลายสุขภาพ

                การเดินทางแต่ก่อนเรือก็ยังมียังใช้กันอยู่ ที่กินเหล้าก็ไม่ค่อยมี ไม่มีรถติดเพราะแต่ก่อนถนนก็ยังสร้างไม่เสร็จ ตอนนั้นก็ยังสร้างสุวรรณภูมิอยู่แต่ก็ยังสงบ ยังหาหิ่งห้อยเจอ


ฉัน
:        สุดท้ายแล้วพี่อยากฝากอะไรถึงน้องๆไหมคะ
พี่เอก
:    ชีวิตที่เรามีทุกวันนี้ อะไรๆ มันง่ายดายมากขึ้น การที่ทำทุกอย่างให้มันน้อยลงทำให้ไม่รู้ถึงการมีของสิ่งรอบข้าง ทุกวันนี้คนเราใช้ชีวิตอยู่กับตัวเองมากกว่าคนที่อยู่ข้างๆ ให้ความสำคัญกับคนอื่นหรือกับเพื่อที่อยู่คนละทีมากกว่าคนที่อยู่ข้างๆ กันทำให้คนพวกนี้มีปัญหาอย่างมากกับการสื่อสาร การปรับตัวเข้ากับคนอื่นที่อยู่ร่วมภายในสังคมเดียวกัน เราต้องรู้จักเห็นใจคนอื่น มีคนหลายระดับมากที่เราต้องรู้จักและต้องประสานงาน ปรับตัวเพื่อความเข้าใจกัน สิ่งที่เป็นปัญหาตอนนี้คือการบริหารความรู้สึกคนเพราะมัวแต่เอาความรู้สึกของตัวเองเป็นใหญ่ สนใจตัวเองก่อน ไม่ค่อยพยายามที่จะเข้าใจคนอื่น


             ขอขอบคุณพี่เอกมากๆ สำหรับการให้สำภาษณ์และคำแนะนำต่างๆ มากมายค่ะ สิ่งที่พี่ได้บอกมาจะพยายามนำมาปรับใช้กับชีวิตปัจจุบัน เพราะเป็นสิ่งที่ดีและน่าสนใจในหลายๆ เรื่องมากๆ อยากให้คนที่เข้ามาอ่านได้ลองปรับใช้ และปฏิบัติตามในสิ่งที่ดีด้วยค่ะ :)
 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น